วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

WiMax เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะมาถึง


จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Wi-Fi ที่ใช้ๆ กันอยู่ ซึ่งปัจจุบันมีรัศมีบริการประมาณ 100 เมตร มันเกิดมีความสามารถในการให้บริการรัศมีเพิ่มเป็นหลายสิบกิโลเมตร และความเร็วสูงอีกด้วย ถ้าจังหวัดเล็ก ๆ จังหวัดหนึ่งมี Hot Spot จุดเดียวก็สามารถเชื่อมต่อ Internet รับส่งข้อมุลต่างๆทั้งภาพและเสียงได้เต็มรูปแบบ จากทุกพื้นที่ในจังหวัด ฟังดูเหลือเชื่อน่ะครับ แต่ที่ต้องเชื่อเพราะมันเกิดขึ้นแล้วและมันมีชื่อเรียกใหม่เพื่อให้แตกต่าง ว่า "WiMax" จริงๆ แล้วผมเองกำลังจะเขียนเรื่องนี้อยู่พอดี ก็เลยลองหาข้อมุลดจากเวบไซต์ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกัยเทคโนโลยีใหม่นี้ และก็เจอข้อมูลมาพอสมควร แล้วก็เจอข้อมูลภาษาไทยอันนึง ลองอ่านดู เห็นว่าเค้าแปลและเรียบเรียงได้ค่อนข้างดี อ่านง่าย ลงรายละเอียดบ้างแต่ไม่หนักเรื่องทางเทคนิคมาก ก็เลยคิดว่าไม่ต้องเขียนใหม่ดีกว่า คัดลอกมาเผยเพร่น่าจะดีกว่า(เสร็จ...เลย)
 

เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็น โครงข่ายสื่อสารที่โยงใยผู้คนทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน การสื่อสารไร้สายความเร็วสูงที่ครอบคลุมพื้นที่ได้ถูก วิวัฒนาการขึ้น ให้ผู้คนโลดแล่นไปเฉกเช่นจินตนาการของโลกแห่งเวทมนต์ ก็เพียงแต่คุณอยู่หน้าจอ ก็สามารถเดินทางรอนแรมท่องเที่ยวไปทั่วโลกได้เพียงชั่ว พริบตา...
ในยุคแรกของการนำเอาเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาใช้ งานนั้นมักจะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อแบบ จุดต่อจุด (Point-to-Point) ซึ่งเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายภายในอาคาร 2 แห่งเข้าด้วยกันเพื่อให้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ซึ่งต่อมาการใช้งานรูปแบบนี้มีข้อจำกัด จึงได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อในอีกรูปแบบหนึ่ง ขึ้น โดยเป็นการเชื่อมต่อแบบจุดหนึ่งไปหลายๆ จุดได้ (Point-to-Multipoint) ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์สามารถให้บริการ ที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ ได้กว้างขึ้น ซึ่งในแง่ของธุรกิจแล้วนั้นให้ความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า ดังนั้นระบบบรอดแบนด์ไร้สายจึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ ผู้ให้บริการสามารถขยายพื้นที่ในการให้บริการบรอดแบนด์ได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ อีกทั้งยังใช้งบประมาณในการลงทุนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการติด ตั้งระบบบรอดแบนด์แบบใช้สายอย่างโครง--ข่ายใยแก้วนำแสงที่ต้องมีการลากสาย และติดตั้งท่อ ร้อยสายใต้ดินรวมถึงจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้ในการใช้ บริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงในราคาประหยัดอีกด้วย

สำหรับการเติบโตของบรอดแบนด์ทั่วโลกโดยเฉพาะใน ภูมิภาคเอเชียนั้นได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและได้ มีการคาดการณ์ไว้ว่า จะยังคงเติบโตต่ออย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูงมากกว่า แต่เทคโนโลยีเก่าอย่าง Dial-Up ไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการของผู้ใช้งานและสื่อแบบมัลติมีเดียที่เป็นการสื่อสารทั้งสัญญาณภาพ เสียงและข้อมูลได้
ดังนั้นจากเหตุผลที่ได้ กล่าวมาทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ลง ทุนต่ำและเป็นเทคโนโลยีซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ในการให้บริการได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นส่วนขยายของบริการฮอตสปอทหรือการบ ริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงไปยังจุดซึ่งโครงข่ายใยแก้วนำแสงไม่ได้ ครอบคลุมถึงตลอดจนเป็นส่วนขยายไปยังผู้ใช้ ปลายทางหรือที่เรียกว่า Last Mile ของเทคโนโลยีแบบมีสายอื่นๆ

WiMax คืออะไร ?

WiMax เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่า จะถูกนำมาใช้งานในอนาคต อันใกล้นี้ โดย WiMax เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูก พัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งต่อมา ก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้อนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMax สามารถ ให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่าน ข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว
  
 


 โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMax มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะ จากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMax ช่วยให้ผู้ที่ใช้งานสามารถ ขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 30 ไมล์ หรือ ประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล สูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟ ที่ความถี่ ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี

จากจุดเด่นในการทำงานของ WiMax ข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถตอบสนองความต้องการ ของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ ที่ห่างไกล ที่สายเคเบิ้ลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบาย และประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้วได้ เนื่อง จากไม่ต้องลงทุน ขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วใหม่ นอกจากนั้น WiMax หรือบรอด--แบนด์ไร้สาย มาตรฐาน IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุง ประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานภาพ (Video) หรือการใช้งานเสียง (Voice) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากร ของเครือข่ายมากอย่างเก่า (Low-Latency Network) อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ซึ่งต้องได้ รับอนุญาติ (Authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และข้อมูลต่างๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (Encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบน มาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น
ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนี้ ทำให้เราสามารถนำ WiMax ไปประยุกต์เพื่อลดช่องว่างของ เทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกลที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนอง ความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวด เร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบวางสายสัญญาณที่ ใช้งานกันอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น