วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Hibernate ฟังก์ชันน่าใช้ เปิด-ปิด Notebook ได้เร็วทันใจ

hibernate เป็นเครื่องมือหนึ่งที่อยู่ใน Windows XP เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องของการเปิดปิดเครื่องได้เป็นอย่างดีครับ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้โน้ตบุ๊กจะได้รับความสะดวกมากๆ
เพราะ ว่าสามารถทำให้เราเปิดปิดเครื่องได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หลักการก็คือ การบันทึกข้อมูลการทำงานล่าสุดเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ จากนั้นเมื่อเราเปิดเครื่อง จะมีการโหลดการทำงานล่าสุดขึ้นมาแสดงไม่จำเป็นต้องบูตเครื่องใหม่ ทำให้ประหยัดเวลา และประหยัดแบตเตอรี่อีกด้วย… วิธีการใช้งานนั้นเป็นอย่างไร มาดูกันครับ (สำหรับคนที่เป็นแล้วก็ไม่ว่ากันนะครับ อาจจะดูง่าย แต่ผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายท่าน ยังไม่รู้เลยว่า Hibernate เอาไว้ทำอะไร)
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า การเปิดใช้ฟังก์ชันนี้ จะต้องอาศัยพื้นที่การเก็บฮาร์ดดิกส์ส่วนหนึ่งด้วยนะครับ จะเท่าไหร่นั้น เวลาเราจะเปิดใช้งานจะมีการแจ้งให้ทราบอีกทีบนหน้าจอครับ แต่ทว่า โน้ตบุ๊กในปัจจุบันนี้ก็มีขนาดฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่เพียงพออยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
การเริ่มใช้นั้นเราต้องไปเปิดฟังก์ชันนี้ก่อนครับ ให้เข้าไปที่ Control Panel คลิ้กเลือกตรง Power Options ตามภาพครับ
แล้วจะพบกับหน้าจอ Power Options ไปคลิ้กตรงแถบ Hibernate แล้วคลิ้กใส่เครื่องหมายถูกตรงคำที่ว่า Enable Hibernation สังเกตด้านล่างจะมีการแสดงพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ที่ต้องใช้ด้วยนะครับ เสร็จแล้วคลิ้กปุ่ม Apply เพื่อทำการเปิดใช้งานฟังก์ชันนี้
จากนั้นก็ไปที่แถบ Advanced ส่วนนี้สำคัญนะครับ เพราะว่าเราจะกำหนดให้ว่า เมื่อมีการปิดฝาจอโน้ตบุ๊กแล้ว จะให้ทำการเข้าสู่โหมด Hibernate ทันที.. จะได้ไม่ต้องเสียเวลา Shut down สามารถปิดเครื่องได้เลย ให้ดูจากภาพตัวอย่าง ไปคลิ้กที่ When I close the lid of my portable computer. แล้วเลือกเป็น Hibernate แทนครับ หรือท่านใดจะเลือกเป็นตัวเลือกอื่นๆ ก็ได้ เมื่อคุณปิดฝาจอ ระบบก็จะทำตามที่คุณตั้งไว้ แต่หากต้องการใช้ฟังก์ชัน Hibernate นี้ก็ต้องเลือกเป็น Hibernate อย่างเดียวครับ เท่านี้เองครับ จากนั้นก็คลิ้ก OK แล้วทดลองปิดฝาโน้ตบุ๊กดู เครื่องก็จะเข้าสู่โหมด Hibernate แล้วเครื่องจะปิดทันที คราวหน้าเปิดเครื่องมาก็กดปุ่ม Power ปกติ เครื่องจะเปิดอย่างรวดเร็ว หากใครทำแล้วไม่ได้ผล รบกวนดูขั้นตอนอีกครั้ง หรือบูตเครื่องใหม่สัก 1 รอบนะครับ
นอกจากนี้ยังมีอีก 1 วิธีที่จะปิดเครื่องโดยเข้าสู่โหมด Hibernate ก็คือ เวลาเราสั่ง Shut down ปกติ ให้กดปุ่ม Shift ค้างเอาไว้ครับ โหมด Hibernate จะปรากฏขึ้นมาบนไอคอนซ้ายสุด จากนั้นเอาเมาส์คลิ้กเลือกได้เลยครับ … ไปลองกันดูครับ ติดขัดตรงไหนก็สอบถามกันมาได้ ..

อ้างอิงจากhttp://notebookspec.com/

การติดตั้งWinamp

ขั้นตอนการเตรียมการ
ก่อนอื่นท่านจะต้องเตรียมอุปกรณ์ Hardware/Software ดังต่อไปนี้
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์
    อุปกรณ์หลักที่ใช้ในการแปลงสัญญาณเสียงและส่งขึ้นไปที่ Multimedia Streaming Server
    • สเปกขั้นต่ำ CPU: Intel Pentium III RAM: 128 MB OS: Windows XP อุปกรณ์เพิ่มเติม: Sound Card, Microphone
    • Modem แบบ Dial-up (56kbps) หรือ ADSL Modem Router (128kbps - 1Mbps)
  2. บัญชีใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต
    สำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ความเร็วขั้นต่ำ 56Kbps สำหรับการถ่ายทอดเสียงที่มีความละเอียดต่ำกว่า 32kbps หากความละเอียด สูงกว่านี้ ขอแนะนำให้ท่านใช้บัญชีอินเทอร์เน็ตแบบ ADSL ที่มีความเร็วสูงตั้งแต่ 128Kbps ขึ้นไป
  3. โปรแกรมที่จำเป็นต้องติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน
    • โปรแกรม Winamp (โปรแกรมหลักสำหรับเปิดเพลง) Download - ฟรี
    • SHOUTcast DSP Plug-in (สำหรับแปลงสัญญาณเสียงและส่งไปที่ Server) Download - ฟรี
  4. หมายเลข Server IP, Server Port และ รหัสผ่าน
    สำหรับการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านเข้ากับ Multimedia Streaming Server ซึ่งทางทีมงานของ Siamwebhost.Com จะจัดส่งให้ท่านทางอีเมล์ หลังจากที่ท่านได้ทำการกรอกใบสมัครใช้บริการ และชำระค่าบริการเรียบร้อยแล้ว (ทดลองใช้งานได้ก่อนฟรี 3 วัน)
ขั้นตอนการติดตั้งและใช้งาน
1. หลังจากที่ท่านได้ทำการ Download และ Install โปรแกรม Winamp และ SHOUTcast DSP Plug-in เรียบร้อยแล้ว (ขั้นตอนการ Install โปรแกรมเหมือนกับโปรแกรมโดยทั่วไป จึงไม่ขออธิบายในที่นี้) ให้เปิดโปรแกรม Winamp โดยดับเบิ้ลคลิกที่ icon  ที่อยู่บนหน้าจอ Desktop จะพบกับหน้าจอดังต่อไปนี้ (รูปแบบอาจแตกต่างกับตัวอย่าง ขึ้นอยู่กับ Version และ Skin ของโปรแกรม Winamp)
2. คลิกที่เมนู Options --> Preferences
3. จะพบกับหน้าต่าง Winamp Preferences ให้ท่านคลิกเลือกคำสั่ง DSP/Effect ในหน้าต่างด้านซ้าย จากนั้นคลิกเลือก Nullsoft SHOUTcast Source DSP ในหน้าต่างด้านขวา ดังภาพต่อไปนี้
4. โปรแกรม Winamp จะทำการเปิดหน้าต่าง SHOUTcast Source ขึ้นมาใหม่ ให้ท่านคลิกเลือกที่แท็ป Output
  • ในช่อง Address ให้ท่านกรอก หมายเลข IP หรือ URL (ที่ได้รับจากทางทีมงาน)
  • ในช่อง Port ให้ท่านกรอก หมายเลข Port (ที่ได้รับจากทางทีมงาน)
  • ในช่อง Password ให้ท่านกรอก รหัสผ่าน สำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านเข้ากับ Multimedia Streaming Server
5. จากนั้นให้ท่านคลิกที่แท็ป Encoder
  • ในช่อง Encoder Type ให้ท่านเลือก MP3 Encoder
  • ในช่อง Encoder Setting ให้ท่านเลือก ความละเอียดของเสียง (Bitrate), ความถี่ (Khz) และระบบเสียง (Mono/Strereo)
หมายเหตุ: ท่านจะต้องระบุรายละเอียดให้ตรงตามที่ท่านได้สมัครใช้บริการไว้แล้วเท่านั้น ซึ่งท่านสามารถเลือก Bitrate ที่ต่ำกว่าที่สมัครไว้ได้ แต่ไม่สามารถเลือก Bitrate ที่สูงกว่า เพราะจะทำให้ ระบบการ ถ่ายทอดเสียงเกิดปัญหา และอาจจะทำให้ผู้ฟังของท่านไม่ได้ยินเสียง ที่ท่านต้องการออกอากาศ
6. จากนั้นให้ท่านคลิกเลือกที่แท็ป Input
  • ในช่อง Input Device ให้ท่านเลือก Soundcard Input
  • ในช่อง Input Setting ให้ท่านปล่อยไว้โดยใช้ค่า Default ของโปรแกรม
  • ในช่อง Mic Input ให้ท่านคลิกเลือก Microphone
7. ให้ท่านคลิกกลับมาที่แท็ป Output อีกครั้ง จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Connect เพื่อเริ่มต้นออกอากาศ

โปรแกรม จะทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านเข้ากับ Multimedia Streaming Server ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านสามารถเชื่อมต่อกับ Multimedia Streaming Server ได้เรียบร้อยแล้วจะสัญเกตุเห็นว่าตรงบริเวณ Status จะมีตัวเลขวิ่ง ดังภาพ
หมายเหตุ: หากพบปัญหาในการเชื่อมต่อ กรุณาตรวจสอบ IP Address, หมายเลข Port และ รหัสผ่าน อีกครั้ง หากยังคงไม่สามารถเชื่อมต่อได้ กรุณาติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
8. หลังจากที่ท่านสามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านเข้ากับ Multimedia Streaming Server ได้เรียบร้อยแล้ว (ตามขั้นตอนที่ 7) ให้ท่านปิดหน้าต่าง SHOUTcast Source และกลับมาที่หน้าต่างหลักของโปรแกรม Winamp เพื่อทำการเปิดเพลง หรือ Sport โฆษณา ที่ท่านได้จัดเตรียมเอาไว้แล้ว
9. ในกรณีที่ท่านต้องการพูดออกอากาศ ให้ปฎิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. คลิกที่ Icon SHOUTcast ซึ่งอยู่ตาง Taskbar ด้านล่าง-ขวามือ ขอจอภาพ จะพบกับหน้าต่าง SHOUTcast Source
  2. คลิกเลือกที่แท็ป Input
  3. คลิกปุ่ม Push to Talk ค้างไว้ในขณะที่พูด เสียงเพลงจะเบาลง หากต้องการพูดต่อเนื่องให้คลิกที่ปุ่ม Lock
หมายเหตุ: ท่านสามารถปรับแต่ง Soundcard Mixer ได้ในขณะที่พูด โดยเลื่อนแถบ Slide ตรง Music Level, BG Music Level, Mic Level และ Fade Time
10. วิธีการรับฟังสถานีวิทยุออนไลน์
ผู้ฟัง สามารถรับฟังวิทยุออนไลน์ ได้ 4 ช่องทางดังต่อไปนี้ ( xxxx คือหมายเลข IP, pppp คือหมายเลข PORT )
  1. ผ่านโปรแกรม Winamp หรือ RealPlayer: (URL) http://xxx.xxx.xxx.xxx:pppp/listen.pls
  2. ผ่านโปรแกรม Windows Media Player หรือ RealPlayer: (URL) mms://xxx.xxx.xxx.xxx:pppp
  3. เข้าฟังผ่านทางเว็บไซต์: (URL) http://yourname.myonlineradio.com
  4. เข้าฟังที่เว็บไซต์ของท่านเอง (ต้องมีเว็บไซต์และโดเมนเนม): http://www.yourdomain.com/radio.html
อ้างอิงจากhttp://www.siamwebhost.com/

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

แนวคิดการสอนเขียนโปรแกรม






หลายครั้งที่ผมต้องเริ่มสอนเขียนโปรแกรม ให้นักเรียนกลุ่มใหม่ และก็ต้องบอกเล่า ด้วยประโยคเดิมทุกครั้งว่า "การเขียนโปรแกรม ทุกภาษานั้นเหมือนกัน" สิ่งที่แตกต่างกัน ของแต่ละภาษาคือ syntax แต่สิ่งที่เหมือนกันของทุกภาษาคือ การใช้ประสบการณ์จากภาษาหนึ่ง ไปใช้ในอีกภาษาหนึ่งได้ ด้วยการซึมซับ เรื่องของ Structure Programming จนเข้าใจ เพื่อควบคุมในสิ่งที่คล้าย ๆ กันคือ input, process และ output ซึ่งหมายความว่า ถ้าท่านเขียนโปรแกรมอะไร ในภาษาหนึ่งได้แล้ว การเขียนโปรแกรมแบบนั้น ในภาษาอื่นย่อมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพียงแต่ต้องศึกษาถึง syntax หรือ รูปแบบการเขียนของภาษาใหม่นั้นเพิ่มเติม แล้วนำประสบการณ์ที่เคยเขียน ไปสั่งให้ภาษาใหม่ทำงานตามต้องการ ผมจึงมักสนับสนุนให้นักเรียน ได้ศึกษาภาษาที่ไม่มีตัวช่วยมาก เพื่อให้เข้าใจในหลักการ และขั้นตอนการทำงาน อย่างละเอียดชัดเจน จากการทำงานของตัวแปรภาษาที่มีตัวช่วยน้อย ทำงานบน dos สามารถแปลเป็น exe และ นำไปใช้ได้โดยไม่ยุ่งยาก เช่น c, pascal, basic, fox... หรือ clipper เป็นต้น
อ้างอิงจากhttp://www.thaiall.com/article/teachpro.htm

ความหมายของ Structure Programming



การโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง หรือ การโปรแกรมโครงสร้าง คือ การกำหนดขั้นตอนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ได้แก่ การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) และ การทำซ้ำ(Loop)
ตำราหลายเล่มจะขยายความออกไปว่า Decision แยกเป็น If และ Case ส่วน Loop แยกเป็น While และ Until ถ้าแยกให้ละเอียดก็อาจได้ถึง 5 หลักการ แต่ในที่นี้ขอนำเสนอไว้เพียง 3 หลักการ ดังนี้



2.1 การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับได้ตามภาพ
2.2 การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
2.3 การทำซ้ำ(Repeation or Loop) คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
อ้างอิงจากwww.thaiall.com/article/teachpro.htm#meaning
การเริ่มต้นเขียนโปรแกรม
เริ่มต้นเขียนโปรแกรม เริ่มต้นตรงไหน : สำหรับผม เมื่อได้มาทำหน้าที่สอนหนังสือ โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมทุกภาษา ผมจะสอนให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมควบคุมตัวเลข เช่นการพิมพ์ 1 ถึง 10 หรือ สูตรคูณ หรือปิรามิดของตัวเลข ที่ต้องฝึกใช้ Structure Programming ให้ชำนาญ และปัญหาก็เกิดขึ้นทุกครั้ง คือ "นักเรียนบ่นว่าไม่ชอบเขียน ไม่มีประโยชน์" หรือ "เขียนไม่ได้ ถึงเขียนได้ ก็ไม่รู้จะเขียนไปทำไม" แล้วผมก็ต้องกลับไปอธิบายอีกครั้งว่า การเริ่มต้นแบบนี้ "จะทำให้รู้จักควบคุมโปรแกรม ตามหลักการของโปรแกรมแบบมีโครงสร้างได้ชำนาญขึ้น รู้จักเรียนรู้ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้งรู้จักแก้ไข Syntax พื้นฐานไม่ให้ผิดพลาด เมื่อสามารถเขียนโปรแกรมในระดับต่อ ๆ ไปได้"
    เริ่มต้นเขียนโปรแกรมทำอย่างไร (จากหนังสือ พื้นฐานเว็บมาสเตอร์บทที่ 17)
  1. เลือกภาษา สำหรับนักเรียน นักศึกษานั้นง่ายที่จะเลือก เพราะอาจารย์คอยชี้แนะ
  2. หาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากห้องสมุด ถ้าท่านไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย คงนึกโครงสร้างภาษาไม่ออกเป็นแน่
  3. หาตัวแปลภาษา ทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา มีหลายภาษาที่ถูกสร้างเป็น Free compiler ต้องหาดู
  4. เขียนโปรแกรมตัวแรกที่ง่าย เช่น พิมพ์เลข 5 เป็นต้น
  5. ศึกษาการทำซ้ำ และการเลือกตามเงื่อนไข เช่นพิมพ์สูตรคูณ หรือพิมพ์ 1 ถึง 10 เป็นต้น
  6. ติดต่อแฟ้มข้อมูล เพื่ออ่านมาแสดงผล หรือปรับปรุงข้อมูลได้
  7. เขียนเมนู เพื่อเลือกกระทำโปรแกรมตามตัวเลือก
  8. ทำรายงานจากการเชื่อมแฟ้มหลายแฟ้ม โดยกำหนดได้หลายตัวเลือก
  9. เขียนโปรแกรมเพิ่มข้อมูล เช่น ซื้อ ขาย ยืม คืน หรือโปรแกรมลงทะเบียนนักศึกษาแต่ละภาคเรียนเป็นต้น
  10. สร้างโปรแกรมขึ้นมาระบบหนึ่งให้สมบูรณ์ (ความสมบูรณ์ก็คือการสนองทุกความต้องการของผู้ใช้)