วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาแอปพลิเคชั่นบน Android

หลังจากที่เราได้ลองติดตั้งและทดสอบ Emulator ของEclipse  Android SDK กันแล้ว
มาคราวนี้เราจะลอง App ง่ายๆ บน Android กัน ด้วยโปรแกรมพื้นฐานสำหรับทุกการเขียนโปรแกรมอย่าง Hello World
http://img.spacethai.net/images/helloandro.png
เริ่มต้นด้วยการสร้างโปรเจค Android ใน Eclipse
1. เปิดโปรแกรม Eclipse ขึ้นมา จากนั้นเลือกที่ File > New > Project
ในหน้าต่าง New Project ภายใต้ Android เลือก Andrild project ดังรูป หลังจากนั้นให้กด Next
http://img.spacethai.net/images/helloakqk.png
2. เมื่อเสร็จจากขั้นตอนแรกแล้วจะได้ดังรูปนี้ โดยกรอกข้อมูลต่อไปนี้
Project Name: HelloWorld
Build Target : Android 2.2
Application Name: HelloWorld
Package Name: com.example.hello
Create Activity: HelloWorld
Min SDK Version: 8
จากนั้นคลิกที่ Finish
http://img.spacethai.net/images/helloavov.png
นี่คือคำอธิบายของแต่ละฟิลด์:
Project Name : นี้คือชื่อโปรเจกของ Eclipse – ชื่อของไดเรกทอรีที่จะมีไฟล์โปรเจกอยู่
Build Target : ได้เลือกใช้ Android 2.2 platform ซึ่งหมายความว่าแอปพลิเคชันของคุณจะถูก compiled กับ Android 2.2 platform library
Application Name : นี้เป็นชื่อสำหรับแอปพลิเคชันของคุณ – ชื่อที่จะปรากฏในอุปกรณ์ Android
Package name : นี้คือ namespace แพคเกจ (ตามกฎเดียวกันกับสำหรับแพคเกจในภาษา Java) ถ้าจะเปรียบเทียบให้ง่ายๆก็เหมือนเป็นโฟลเดอร์ที่ทำหน้าที่จัดเก็บ Class ต่างๆ ไว้ให้เป็นหมวดหมู่
Create Activity : นี้คือชื่อสำหรับ class stub ที่จะสร้างโดยปลั๊กอินนี้ ซึ่งจะเป็น subclass ของ Android’s Activity class
Min SDK Version : ค่านี้ระบุ API ระดับต่ำสุดที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันของคุณ
3. ตอนนี้โปรเจก Android ของคุณพร้อมแล้ว คุณจะมองเห็นใน Package Explorer อยู่ด้านซ้าย คลิกเปิดไฟล์HelloWorld.java (HelloAndroid > src > com.example.helloworld) ซึ่งควรมีลักษณะเช่นนี้:
package com.example.helloworld;

import android.app.Activity;
import android.os.Bundle;

public class HelloAndroid extends Activity {
    /** Called when the activity is first created. */
    @Override
    public void onCreate(Bundle savedInstanceState) {
        super.onCreate(savedInstanceState);
        setContentView(R.layout.main);
    }
}
ลังจากสร้างโปรเจกเรียบร้อยแล้ว ขึ้นตอนต่อมาคือการรันแอปพลิเคชัน
1. คลิกเลือกที่ Run > Run
2. เลือก “Android Application”
หลังจากนั้นโปรแกรมจะทำการเปิด Emulator ของ Android SDK 2.2 ที่เราเคยสร้างไว้ขึ้นมาอย่างอัตโนมัติ กดที่ Manu เพื่อปลดล็อกเครื่อง
ซึ่งคุณจะเห็น Hello World ดังรูป
http://img.spacethai.net/images/helloakhk.png
ขอขอบคุณ http://www.openplus.org/content/development/application-android-sdk-16-hello-world

ประวัติความเป็นมาของ android

ประวัติความเป็นมา

เริ่มต้นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ถูกพัฒนามาจากบริษัท แอนดรอยด์ (Android Inc.) เมื่อปี พ.ศ 2546 โดยมีนาย แอนดี้ รูบิน (Andy Rubin) ผู้ให้กำเนิดระบบปฏิบัติการนี้ และถูกบริษัท กูเกิ้ล ซื้อกิจการเมื่อ เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ 2548 โดยบริษัทแอนดรอยด์ ได้กลายเป็นมาบริษัทลูก ของบริษัทกูเกิ้ล และยังมีนาย แอนดี้ รูบิน ดำเนินงานอยู่ในทีมพัฒนาระบบปฏิบัติการต่อไป
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากการนำเอา แกนกลางของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux Kernel) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อทำงานเป็นเครื่องให้บริการ (Server) มาพัฒนาต่อ เพื่อให้กลายเป็นระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (Mobile Operating System)
ต่อมาเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปี พ.ศ 2550 บริษัทกูเกิ้ล ได้ทำการก่อตั้งสมาคม OHA (Open Handset Alliance, http://www.openhandsetalliance.com) เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดมาตรฐานกลาง ของอุปกรณ์พกพาและระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยมีสมาชิกในช่วงก่อนตั้งจำนวน 34 รายเข้าร่วม ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจด้าการสื่อสาร เช่น โรงงานผลิตอุปกรณ์พกพา, บริษัทพัฒนาโปรแกรม, ผู้ให้บริการสื่อสาร และผู้ผลิตอะไหล่อุปกรณ์ด้านสื่อสาร
[[รูป 1-3 : สมาคม OHA (Open Handset Alliance)]] 
สมาคม OHA (Open Handset Alliance





โครงสร้างของแอนดรอยด์

การทำความเข้าใจโครงสร้างของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้านักพัฒนาโปรแกรม สามารถมองภาพโดยรวมของระบบได้ทั้งหมด จะให้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปช่วยในการออกแบบโปรแกรมที่ต้องการพัฒนา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
[[รูป 1-6 : Android Architecture]]
Android Architectureจากโครงสร้างของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จะสังเกตุได้ว่า มีการแบ่งออกมาเป็นส่วนๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน โดยส่วนบนสุดจะเป็นส่วนที่ผู้ใช้งานทำการติดต่อโดยตรงซึ่งก็คือส่วนของ (Applications) จากนั้นก็จะลำดับลงมาเป็นองค์ประกอบอื่นๆตามลำดับ และสุดท้ายจะเป็นส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์โดยผ่านทาง Linux Kernel โครงสร้างของแอนดรอยด์ พอที่จะอธิบายเป็นส่วนๆได้ดังนี้
  • Applications ส่วน Application หรือส่วนของโปรแกรมที่มีมากับระบบปฏิบัติการ หรือเป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ผู้ใช้งานได้ทำการติดตั้งไว้ โดยผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้โปรแกรมต่างๆได้โดยตรง ซึ่งการทำงานของแต่ละโปรแกรมจะเป็นไปตามที่ผู้พัฒนาโปรแกรมได้ออกแบบและเขียนโค้ดโปรแกรมเอาไว้
  • Application Frameworkเป็นส่วนที่มีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาโปรแกรมได้สะดวก และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนักพัฒนาไม่จำเป็นต้องพัฒนาในส่วนที่มีความยุ่งยากมากๆ เพียงแค่ทำการศึกษาถึงวิธีการเรียกใช้งาน Application Framework ในส่วนที่ต้องการใช้งาน แล้วนำมาใช้งาน ซึ่งมีหลายกลุ่มด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
    • Activities Manager  เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่จัดการเกี่ยวกับวงจรการทำงานของหน้าต่างโปรแกรม(Activity)
    • Content Providers เป็นกลุ่มของชุดคำสั่ง ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลของโปรแกรมอื่น และสามารถแบ่งปันข้อมูลให้โปรแกรมอื่นเข้าถึงได้
    • View System เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการโครงสร้างของหน้าจอที่แสดงผลในส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface)
    • Telephony Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลด้านโทรศัพท์ เช่นหมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
    • Resource Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็น ข้อความ, รูปภาพ
    • Location Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่เกี่ยวกับตำแหน่งทางภูมิศาตร์ ที่ระบบปฏิบัติการได้รับค่าจากอุปกรณ์
    • Notification Manager เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งที่จะถูกเรียกใช้เมื่อโปรแกรม ต้องการแสดงผลให้กับผู้ใช้งาน ผ่านทางแถบสถานะ(Status Bar) ของหน้าจอ
  • Libraries เป็นส่วนของชุดคำสั่งที่พัฒนาด้วย C/C++ โดยแบ่งชุดคำสั่งออกเป็นกลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น Surface Manage จัดการเกี่ยวกับการแสดงผล, Media Framework จัดการเกี่ยวกับการการแสดงภาพและเสียง, Open GL | ES และ SGL จัดการเกี่ยวกับภาพ 3มิติ และ 2มิติ, SQLlite จัดการเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล เป็นต้น
  • Android Runtime จะมี Darvik Virtual Machine ที่ถูกออกแบบมา เพื่อให้ทำงานบนอุปกรณ์ที่มี หน่วยความจำ(Memmory), หน่วยประมวลผลกลาง(CPU) และพลังงาน(Battery)ที่จำกัด ซึ่งการทำงานของ Darvik Virtual Machine จะทำการแปลงไฟล์ที่ต้องการทำงาน ไปเป็นไฟล์ .DEX ก่อนการทำงาน เหตุผลก็เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อใช้งานกับ หน่วยประมวลผลกลางที่มีความเร็วไม่มาก ส่วนต่อมาคือ Core Libraries ที่เป็นส่วนรวบรวมคำสั่งและชุดคำสั่งสำคัญ โดยถูกเขียนด้วยภาษาจาวา (Java Language)
  • Linux Kernel เป็นส่วนที่ทำหน้าที่หัวใจสำคัญ ในจัดการกับบริการหลักของระบบปฏิบัติการ เช่น เรื่องหน่วยความจำ พลังงาน ติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ความปลอดภัย เครือข่าย โดยแอนดรอยด์ได้นำเอาส่วนนี้มาจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์ รุ่น 2.6 (Linux 26. Kernel) ซึ่งได้มีการออกแบบมาเป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ipad 2 ตัวใหม่ไฉไลกว่าเดิม

มีกระแสข่าวว่า Apple ซุ่มพัฒนา ipad 2 เพื่อเตรียมสู่ศึก Tablet ในปี 2011 ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่ละค่ายก็งัดของดีออกมาโชว์ ขณะที่ Apple กำลังพัฒนา ipad 2 มาสู้ศึกในครั้งนี้ หลังจากในปี 2010 เจ้า ipad ทำยอดขายได้ถึง 14.79 ล้านเครื่อง นับว่าเป็นยอดขายแท็บเล็ตที่สูงที่สุดในโลก
หลังจากที่ สตีฟ จ๊อบ ไปซุ่มพัฒนาอยู่นั้น นักวิเคราะห์คาดว่า ipad 2 จะมีขนาดเครื่องที่บางและเบาเพียง 9.4 x 240.8 x 85.5 มม.  อีกทั้งสามารถลดการสะท้อนแสงซึ่งเป็นปัญหาของผู้ใช้ ipad ในปัจจุบัน และยังจะเปลี่ยนการเชื่อมต่อแบบเข็ม 30-pin เป็น Port Mini USB แทน ชิปประมวณผล ipad 2 จะใช้ A5 Dual core Processor จอภาพ จะใช้เทคโนโลยี Retina Display และยังมีกล้องหน้าสำหรับเล่น FaceTime และกล้องหลังขนาด 1 ล้านพิกเซล พร้อมกับมีช่องใช่ microSD นอกจากนี้ ipad 2 ยังสามารถรองรับทั้งเครือข่าย GSM และ CDMA อีกด้วย

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบ 3G



ระบบ 3G คืออะไร / เทคโนโลยี 3G หมายถึง / ความเร็ว 3G

เทคโนโลยี 3G พัฒนามาจากอะไร ระบบ 3G คืออะไร และมี ความเร็ว เท่าไร
ระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น

สำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+

HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )
HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps
HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbps

สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้า

ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้

คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ True
คลื่นความถี่ ( band ) 900 จะถูกพัฒนาโดย AIS (ใช้ชั่วคราวที่เชียงใหม่ และ Central World)
คลื่นความถี่ ( band ) 2100 กำลังรอ กทช. ทำการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่
คลื่นความถี่ ( band ) 1900 และ 2100 จะถูกพัฒนาโดย TOT

ดังนั้นการเลือกซื้อ AirCard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ และต้องการให้รอบรับ 3G ควร check ให้ดีก่อนว่าสามารถรองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือเพียงบางคลื่นเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการโหลดเว็บไซต์อย่างรวดเร็ว

หลายครั้งที่ท่านต้องรอนานกับการโหลดเว็บไซต์บางเว็บเพียงเพื่ออ่านข้อมูลบางข้อมูลที่ต้องการ
                 ทางออกที่ดีมากๆอย่างหนึ่งก็คือการไม่โหลดรูปภาพ จะทำให้การโหลดของท่านเร็วขึ้นมาเลยละ่ครับ
                เพราะบางเว็บไซต์มีรูปขนาดใหญ่ทำให้ต้องใช้เวลาในการโหลดนาน  เข้าวิธีการกันเลยครับ

1.  เปิดหน้าต่าง IE ขึ้นมาก่อนครับ
2.  คลิกที่เมนู Internet Options
3.  คลิกที่แท็บ Advance แล้วเลื่อนสกอร์ลงมาที่หัวข้อ Multimedia
4.  คลิกยกเลิกเครื่องหมายถูกหน้าข้อความ Show pictures แล้วคลิก OK แล้วทำการโหลดเว็บไซต์ได้เลย
      รูปทั้งหลายก็จะไม่มาให้ท่านเห็นเลยครับ แต่ท่านก็โหลดได้เร็วกว่าเดิมนะครับ ลองดู

วิธีการเคลียร์พาสเวิร์ดใน Internet Explorer

:เมื่อท่านได้ให้ IE จำพาสเวิร์ดของท่านเอาไว้ในการเข้าใช้งานบางเว็บไซต์ที่ต้องใช้ชื่อและพาสเวิร์ด
             ในการเข้าใช้ครั้งแรกที่ท่านได้ใส่พาสเวืร์ดวินโดวส์ก็จะถามว่าจะให้จำพาสเวิร์ดหรือไม่เมื่อท่านตอบ
              yes วินโดวส์ก็จะจำพาสเวิร์ดนั้นเอาไว้ เมื่อท่านจะเข้าใช้เว็บไซต์นั้นอีกท่านก็ไม่จำเป็นต้องพิมพ์
              พาสเวิร์ดท่านก็สามารถ Log in เข้าไปได้เลยแต่เมื่อใดที่ท่านอยากยกเลิกวิธีการนี้ล่ะจะทำอย่างไรดี
              ผมมีวิธีการมาฝากครับ
1.  ให้ท่านเปิดหน้าต่าง Internet Explorer ขึ้นมาครับ
2.  คลิกที่เมนู Tools >  Internet Options
3.  คลิกเลือกที่แท็บ Content แล้วคลิกที่ปุ่ม Auto Complete...ที่อยู่ด้านล่างในกรอบของ Personal Information
 
4.  เมื่อท่านอยู่ในหน้าต่าง Auto complete setting ให้ท่านคลิกเลือกที่เช็กบ็อกซ์ที่หน้าข้อความ Promt me to
     save passwords แล้วคลิกที่ปุ่ม Clear Passwords เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ

30 ทริปเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

1. ในขณะที่คุณกำลังจะ Restart เครื่องใหม่ ก่อนที่จะกดปุ่ม OK ให้คุณกด Shift ค้างไว้ จะทำให้คุณ Restart ได้เร็วขึ้น 

2. ในบาง Web Site หากคุณกด Ctrl ค้างไว้ และเลื่อน Scroll ที่ Mouse จะทำให้ตัวอักษรของ Web Site นั้นใหญ่ขึ้น 

3. หากกดปุ่ม Refresh หรือ F5 แล้วยังเป็นข้อมูลเดิม ลองกด Ctrl + F5 รับรองจะได้ข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดแน่ๆ 

4. คุณสามารถเปิดไฟล์ Tips.txt ขึ้นมาเพื่ออ่านเทคนิคต่างๆ ได้ ซึ่งไฟล์นี้จะอยู่ใน c:\\windows ของคุณ 

5. ในระหว่างที่คุณกำหลังใช้งาน IE อยู่นั้น สามารถกดปุ่ม F4 เพื่อเป็นการเปิดดู URL List ในช่อง Address ได้เลย 

6. การกดปุ่ม Esc ระหว่างการใช้ IE จะทำให้ IE ของคุณนั้นหยุดโหลดได้ โดยที่ไม่ต้องกดปุ่ม Stop 

7. ระหว่างการใช้ IE สามารถกดปุ่ม Alt + D หรือ Ctrl + Tab เพื่อเข้า Address bar อย่างเร็วได้ 

8. คุณสามารถเพิ่มความเร็วให้กับ Internet ได้โดยทำการถอดสายเครื่องโทรศัพท์ ที่มีการต่อพ่วงอยู่กับสายที่ใช้ต่อ Internet ออก 

9. คุณสามารถ ไปที่ Start -> Run และพิมพ์ว่า welcome กด Enter เพื่อเปิดหน้าต่างต้อนรับของ Windows ได้ 

10. ที่ Notepad หรือ ICQ หากคุณลืมเปลี่ยน Mode ภาษา ให้กดปุ่ม Ctrl + Back Space เพื่อแก้คำที่พิมพ์ผิดไปแล้ว 

11. คุณสามารถ เปิด Folder Desktop อย่างรวดเร็ว โดย Start -> Run พิมพ์จุด (.) ลงไปแล้วกด Enter 

12. ใน IE สามารถกด Space Bar เพื่อนเลื่อนหน้า Page ลงได้ ส่วนเลื่อนขึ้นคือ Shift + Space Bar 

13. ใน Windows คุณไม่สามารถ สร้าง Folder ที่ชื่อ \"con\" ได้ 

14. ใน IE ที่ช่อง Address ปุ่ม Ctrl+Enter สามารถช่วยคุณ ในการพิมพ์ URL ได้เร็วยิ่งขึ้น 

15. การกด Ctrl ค้างเอาไว้ ตอนเวลา BOOT เครื่อง จะทำให้คุณไม่พลาด Startup Menu 

16. คุณสามารถปิดนาฬิกาที่ Taskbar ได้ โดยคลิกขวาที่ Task bar > Properties > เอาเครื่องหมาย Show Click ออก 

17. หากคุณกด F11 ใน Windows Explorer จะช่วยให้มีการทำงานที่สะดวกขึ้น 

18. ใน ICQ การส่ง Message หากคุณกด Ctrl+Enter จะสะดวก กว่าการ Click Mouse ที่ปุ่ม send 

19. คุณสามารถกด F2 เพื่อ ใช้ในการเปลี่ยนชื่อ Icon ต่างๆ ได้ 

20. การกด F5 ใน NotePad จะเป็นการแทรก เวลา และวันที่ ปัจจุบัน 

21. การกด Windows + E จะเป็นเปิด Windows Explorer ขึ้นมา 

22. เปิด System Properties อย่างรวดเร็วคือการกด Window + Pause Break 

23. การย่อยทุกๆ หน้าต่างที่เปิดใช้งาน ให้ยุบไปให้หมด คือการกด Window + D ถ้าจะขยายคืนมาอีก ให้กดซ้ำ 

24. การเคาะวรรคในโปรแกรม Dreamweaver คือ Shift + Ctrl + Space Bar ส่วนการเว้นบรรทัดคือ Shift + Enter 

25. การลบไฟล์แบบ ไม่เก็บไว้ใน Recycle Bin คือการกด Shift + Delete 

26. การกด Shift ค้างไว้ เวลาใส่แผ่น CD-Rom จะเป็นการไม่ให้มันเปิด Autorun ของแผ่น CD-Rom นั้นขึ้นมา 

27. การ Restart เครื่องอย่างเร็ว คือไปที่ Start -> Shut Down... -> Restart จากนั้น ก่อนที่จะ OK ให้กด Shift ค้างเอาไว้ 

28. ในระหว่างใช้ Browser คุณสามารถกดปุ่ม Space Bar เพื่อเลื่อนหน้าลง และ Shift + Space Bar เพื่อนเลื่อนหน้าขึ้นได้ 

29. กด Shift + คลิก จะเป็นการเปิดหน้าต่างขึ้นมาใหม่ โดยไม่ต้อง back กลับ 

30. คุณสามารถ ไปที่ Start -> Run และพิมพ์ว่า hwinfo /ui กด Enter เพื่อดูรายงานต่างๆ ของ HardWare


จากposted on 02 May 2008 16:09 by ice4449